ดีไฮโดรเทสโทสเทอโรน : ฮอร์โมนวัยผมร่วง

Last updated: 25 ม.ค. 2567  |  1541 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ดีไฮโดรเทสโทสเทอโรน : ฮอร์โมนวัยผมร่วง


       เคยสังเกตกันไหมคะ รู้สึกว่าตัวเองผมร่วง จะเดินไปตรงไหน มุมไหนในห้องก็เจอแต่เส้นผมของตัวเอง ตอนสระผมยิ่งแล้วใหญ่ กองเต็มห้องน้ำไปหมด แบบนี้ถือว่าปกติไหม?

      ปกติแล้วเส้นผมของคนเราจะร่วงเฉลี่ย 50 - 100 เส้น/วัน ในผู้ชายจะร่วงไม่เกิน 60 เส้น/วัน ส่วนผู้หญิงจะร่วงไม่เกิน 100 เส้น/วัน แต่ถ้ารู้สึกว่าตัวเองผมร่วงมากกว่า 200 เส้น/วัน หรือร่วงมากกว่าปกติที่เคยร่วง ควรรีบหาสาเหตุ หรือพบแพทย์ เพื่อหาแนวทางแก้ไข เพราะถ้าหากปล่อยไว้นาน อาจทำให้เกิดภาวะผมบาง หรือหัวล้านได้

      9 สาเหตุที่ทำให้ผมร่วง

  • ผมร่วงจากพันธุกรรม
  • ผมร่วงจากการแพ้สารเคมี
  • ผมร่วงจากการใช้ยา
  • ผมร่วงจากการลดน้ำหนัก
  • ผมร่วงจากการทานอาหารไม่ครบ 5 หมู่
  • ผมร่วงจากความเครียด
  • ผมร่วงจากโรคผิวหนัง
  • ผมร่วงจากโรคประจำตัว
  • ผมร่วงจากฮอร์โมน
จาก 9 สาเหตุข้างต้นนั้น หนึ่งในสาเหตุสำคัญ ที่ทำให้เกิดผมร่วง ผมบาง ก็คือฮอร์โมน วันนี้รณภีร์ คลินิก จะพาทุกคนไปรู้จักฮอร์โมนตัวนี้ให้มากขึ้น พร้อมวิธีที่ปรับฮอร์โมน เพื่อลดการเกิดภาวะผมร่วงมาฝากกันค่ะ

       ฮอร์โมนดีไฮโดรเทสโทสเทอโรน
       เพศชาย
       เป็น 1 ในฮอร์โมนที่มีความสำคัญในเพศชาย ช่วยในการพัฒนาลักษณะทางเพศของเพศชาย เช่น เส้นผม, ขน, อวัยวะเพศ แต่ก็ยังเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดผมร่วงได้เช่นกัน

       เพศหญิง
       ถึงแม้ฮอร์โมนดีไฮโดรเทสโทสเทอโรน เป็น 1 ในฮอร์โมนที่มีความสำคัญในเพศชาย ในเพศหญิงก็มีด้วยเช่นกัน แต่มีปริมาณน้อยกว่า เพราะมีฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน ที่สามารถเปลี่ยนสภาพเป็นฮอร์โมนดีไฮโดรเทสโทสเทอโรนได้น้อยกว่า จึงไม่ค่อยมีปัญหาผมร่วงเท่าเพศชาย

       ฮอร์โมนดีไฮโดรเทสโทสเทอโรน สาเหตุหลักที่ทำให้ผมร่วง?
       ผมร่วงในเพศชายส่วนใหญ่เกิดจากฮอร์โมนตัวนี้ ถ้าหากพันธุกรรมของเรามีภาวะหัวล้านอยู่แล้ว ยิ่งจะทำให้เกิดภาวะผมร่วง ผมบางชัดยิ่งขึ้น โดยฮอร์โมนตัวนี้จะเข้าทำปฏิกิริยากับแอนโดรเจนที่อยู่บริเวณรากผม จนทำให้รากผมสร้างเส้นผมได้น้อยลง ไม่สามารถสร้างเส้นผมใหม่ได้ รากผมจึงฝ่อตัวลง ทำให้หัวล้านได้

       แล้วมีวิธีไหม ที่จะลดปริมาณของฮอร์โมนตัวนี้ได้

       “มีมากไป ก็ไม่ได้ดีเสมอไป” ฮอร์โมนตัวนี้ก็เช่นกัน เพราะอาจทำให้ผมร่วง ผมบางได้ง่ายขึ้น แต่ก่อนที่หนักไปกว่านี้จนทำให้หัวล้าน เราควรแก้ไขตั้งแต่เนิ่นๆ ก่อนที่จะสายไป

       ACTION = REACTION
       การใช้ชีวิตในประจำวันของเรา ก็อาจส่งผลทำให้ผมร่วงมากขึ้นได้ เช่น การสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ การใช้ความร้อน และเคมีกับเส้นผม เป็นต้น เราจึงควรลด ละ เลิก และปรับการใช้ชีวิตแบบใหม่ ไม่ว่าจะเป็น การออกกำลังกาย เครียดให้น้อยลง ทานอาหารที่มีประโยชน์ ก็จะทำให้เส้นผมของเราแข็งแรงได้มากขึ้น

       วิธีการรักษา
       วีธีการรักษา สามารถทำได้หลายวิธี ซึ่งจะขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ และต้องดูเป็นเคสบายเคสไป

       รักษาด้วยการทานยา
       ยาสำหรับการรักษาผมร่วงในปัจจุบันนั้นมีหลากหลาย ขึ้นอยู่กับสาเหตุจึงต้องมีการตรวจร่างกาย และวินิจฉัยจากแพทย์ก่อนจึงจะมีความปลอดภัย ยกตัวอย่างอาหารเสริมที่มีแร่ธาตุ เช่น Biotin, Zinc, เหล็ก เป็นต้น

       รักษาด้วยการปลูกผม
       การปลูกผม เป็นการรักษาสำหรับผู้ที่หัวล้านไปแล้ว ไม่สามารถรักษาโดยวิธีอื่นได้ มี 3 วิธี ดังนี้
       1.การปลูกผมด้วยเทคนิค FUE เป็นการปลูกผม โดยจะใช้เครื่องมือเจาะขนาดเล็ก เจาะนำเอาเส้นผมบริเวณท้ายทอย
       2.การปลูกผมด้วยเทคนิค DHI เป็นการปลูกโดยจะใช้เครื่องมือหัวปากกาฝังเส้นผมลงไปได้หลายเส้นภายในครั้งเดียว
       3.การปลูกผมด้วยเทคนิค MICROGRAFT เป็นการปลูกผม โดยการนำเนื้อเยื่อนำมาผ่านกระบวนการคัดแยกพิเศษ และใช้เครื่องมือเฉพาะทางฉีดเข้าไปในบริเวณที่ต้องการ

โดยทั้ง 3 วิธีนี้ สามารถเข้ารับการรักษาได้ที่รณภีร์ คลินิก ทีมแพทย์เฉพาะทางของคลินิกคอยให้คำปรึกษา และวินิจฉัยแบบเคสบายเคส มั่นใจได้แน่นอน

        สุดท้ายนี้ อยากฝากให้ทุกคนให้ความสำคัญกับเส้นผมเล็กๆ ของคุณให้มากขึ้น หากปล่อยไว้นาน เส้นผมเล็กๆ นี้ อาจทำให้เกิดปัญหาใหญ่ และสายเกินแก้




ทีมแพทย์รณภีร์

@RonnapeeTH

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้